การทำแท้งด้วยยาขับเลือดอันตรายไหม

Spread the love

ยาขับเลือด – การยุติครรภ์ด้วยยาอันตรายไหม

การยุติครรภ์ด้วย ยาขับเลือด ในระยะ 10 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงน้อยมากต่อการเกิดอาการแทรกซ้อน ความเสี่ยงนี้เทียบเท่ากับเมื่อผู้หญิงแท้งเองโดยธรรมชาติหากมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นเนื่องมาจากการยุติครรภ์ก็เป็นสิ่งที่แพทย์จะให้การดูแลรักษาได้ง่ายในผู้หญิงทุกๆ 100 คนที่ยุติครรภ์โดยการใช้ยาจะมีผู้หญิงประมาณ 2-3 คนที่ต้องไปพบแพทย์ หรือ ไปสถานพยาบาล หรือ ไปโรงพยาบาลต่อเนื่อง ในประเทศที่การคลอดบุตรมีความปลอดภัยสูง อัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงระหว่างการคลอดบุตรอยู่ที่ 1 คนในผู้หญิงทุก ๆ 10,000 คน ขณะที่ผู้หญิงที่ใช้ยายุติครรภ์เองมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่า 1 ใน 100,000 คน ซึ่งทำให้การยุติครรภ์ด้วยยาปลอดภัยกว่าการคลอดบุตรและปลอดภัยเทียบเท่ากับการแท้งเองโดยธรรมชาติ ซึ่งนั่นหมายถึงว่า การยุติครรภ์อย่างปลอดภัยด้วยไมเฟพริสโตนและ ไมโซพรอสทอล เป็นสิ่งที่ช่วยรักษาชีวิตของผู้หญิง

ข้อมูลเพิ่มเติมทางการแพทย์:

การวิจัยได้แสดงให้เราเห็นว่าในการยุติครรภ์ด้วย  ยาขับเลือด มีผู้หญิงจำนวนน้อยมากที่มีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายสูงเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในการยุติครรภ์ มีผู้หญิงเพียงไม่กี่คนที่จำเป็นต้องมีการขูดมดลูก ( หรือใช้เครื่องดูด ) ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในสถานพยาบาลโดยทั่วไปซึ่งให้การรักษาผู้หญิงที่แท้งโดยธรรมชาติโดยวิธีเดียวกัน

ระยะของการตั้งครรภ์% ของผู้หญิงที่ต้องการการดูแลทางการแพทย์ต่อเนื่อง
0- 49 วัน (0-7 สับดาห์ )2 %
40-63 วัน (7-9 สับดาห์ )2.5%
64-70 วัน (9-10 สัปดาห์ )2.7%
71-77 วัน (10-11 สัปดาห์ )3.3%

(การดูแลทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้เครื่องมือดูด สำหรับกรณีที่ไม่แท้ง เกิดการตั้งครรภ์ต่อ หรือ แท้งไม่สมบูรณ์)

ผู้หญิงประมาณ 2-3 คน ในผู้หญิงทุก ๆ 100 คนที่pยุติครรภ์ด้วย  ยาขับเลือด จำเป็นต้องไปหาหมอ สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลเพื่อรับการดูแลทางการแพทย์ต่อเนื่อง เช่น การขูดมดลูก หรือการดูด อัตราความเสี่ยงนี้เทียบได้เท่ากับกรณีของผู้ที่แพ้ยาเพนิซิลิน 

การยุติครรภ์ด้วย  ยาขับเลือด 

โดยการใช้ไมเฟพริสโตนและ ไมโซพรอสทอล ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศแถบยุโรป ในประเทศฝรั่งเศสเพียงประเทศเดียว ก็พบว่ามีการยุติครรภ์ด้วยยาไมเฟพริสโตนและ ไมโซพรอสทอลไปแล้วประมาณหนึ่งล้านครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และไม่มีผู้ใดเสียชีวิตจากการยุติครรภ์ด้วยยา

จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2552 พบว่ามีผู้หญิงอเมริกันราวหนึ่งล้านคน และ ผู้หญิงมากกว่าสองล้านคนในยุโรปได้ใช้ยาไมเฟพริสโตนและ ไมโซพรอสทอล ในการยุติครรภ์ด้วยตนเอง และมีผู้เสียชีวิต 5 รายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาไมเฟพริสโตนในการยุติครรภ์

ในปี พ.ศ. 2548 องค์การอาหารและยาของสหรัฐได้ตีพิมพ์คำแนะนำด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการใช้ไมเฟพริสโตน และ ไมโซพรอสทอลในการยุติคภรร์ด้วย  ยาขับเลือด  มีใจความว่า “ความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตสำหรับผู้หญิงที่ใช้การยุติครรภ์ด้วยยาเกิดขึ้นได้ยาก (หรือประมาณ 1 ใน 100,000)”

โอกาสของการเสียชีวิตจากการยุติครรภ์ด้วยยานั้นมีน้อยกว่า 1 ใน 100,000  การแท้งบุตรตามธรรมชาติมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 15 ครรภ์ ต่อทุก ๆ 100 ครรภ์  5 ในอเมริกาอัตราการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการแท้งบุตรในธรรมชาติอยู่ที่ไม่ถึง 1 คน ต่อการแท้งบุตร 100,000 ครั้ง  ดังนั้น อัตราการเสียชีวิตจากการยุติครรภ์ด้วยยามีอัตราโดยประมาณเทียบเท่ากับการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการแท้งบุตรตามธรรมชาติ

เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเสียชีวิตจากการใช้ยาไวอะกร้า ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศนั้นพบว่า ในช่วงต้นค.ศ. 2000 มีการเขียนใบสั่งยาไวอะกร้าไปแล้วประมาณ 11 ล้านครั้ง  และมีผู้ชาย 564 คนเสียชีวิตจากการใช้ยานี้ ตามบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน( Journal of the American Medical Association )เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนใบสั่งยาที่เขียนออกไป อัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ประมาณ 1 คนต่อใบสั่งยา 20,000 ฉบับ! และเมื่อเราคำนึงถึงว่าผู้ชายส่วนใหญ่จะได้ใบสั่งยามากกว่า 1 ใบ นั่นหมายความว่าอัตราตายยิ่งสูงกว่า 1 ใน 20,000 คน อย่างไรก็ตาม อัตราการเสียชีวิตเพราะการใช้ยานี้ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะนำยานี้ออกจากตลาดได้

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตเพราะการยุติครรภ์ด้วยยากับการใช้เพนนิซิลินแล้ว พบว่า อัตราการเสียชีวิตเนื่องจากการแพ้ยาเพนนิซิลินจะเกิดขึ้น 1 ราย ต่อการใช้ยา 50,000 – 100,000 คอร์ส   ซึ่งหมายถึงว่า การยุติครรภ์ด้วยยาเป็นสิ่งที่ปลอดภัยกว่าการรักษาด้วยเพนนิซิลิน

ความเสี่ยงของการแท้งบุตรและการยุติครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย เมื่อเทียบกันแล้ว ยังน้อยกว่าความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ต่อไป

ในหลายๆ ประเทศ ผู้หญิงต้องเสียชีวิตลงเนื่องจากการคลอดบุตรมากกว่าการใช้ยาขับเลือดเพื่อยุติครรภ์ จำนวนการเสียชีวิตจากการยุติครรภ์ด้วยยาขับเลือดนั้นในความเป็นจริงแล้วน้อยกว่าที่แสดงในตารางข้างล่าง เพราะการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการยุติครรภ์ด้วยยาขับเลือด, การแท้งบุตร และ การตั้งครรภ์นอกมดลูกถูกนับรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ประเทศการเสียชีวิตจาก การแท้งบุตร, การตั้งครรภ์นอกมดลูก และ การยุติครรภ์การเสียชีวิตจากการแท้งบุตร, การตั้งครรภ์นอกมดลูก และ การทำต่อการเกิดมีชีพการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไม่นับรวมการยุติครรภ์การเสียชีวิตที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไม่นับรวมการยุติครรภ์ต่อการเกิดมีชีพ
ฝรั่งเศส21 ใน 387,000481 ใน 16,000
ออสเตรเลีย00 ต่อ 246,000121 ใน 21,000
แคนาดา11 ใน 328,000101 ใน 33,000

ที่มา : ฐานข้อมูลเรื่องอัตราการเสียชีวิตขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2544

ถึงแม้ว่าอาการแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นในการยุติครรภ์ด้วยยาขับเลือดได้แต่ก็ยังอันตรายน้อยกว่าการยุติครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในพื้นที่ที่การยุติครรภ์ถูกห้ามอย่างเข้มงวด ในการยุติครรภ์โดยไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นประมาณ 19 ล้านครั้งที่เกิดขึ้นในแต่ละปี พบว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 68,000 คน  ซึ่งนั่นหมายถึง 1 ใน ผู้หญิง 279 คนที่ไปยุติครรภ์อย่างไม่ปลอดภัยต้องเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น

สำหรับผู้หญิง 68,000 คนนี้ คาดประมาณว่าจะมีผู้หญิงอีก 30 เท่า (รวมเป็น 2,040,000 คน) ที่ต้องทนความเจ็บปวด หรือพิการอันเนื่องมาจากการยุติครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งหมายถึงว่า 1 ใน ผู้หญิง 9 คน ที่ยุติครรภ์โดยไม่ปลอดภัยต้องทรมานด้วยภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวที่ไม่จำเป็น